โครงงาน คือ งานวิจัยเล็กๆ สำหรับ เป็นการแก้ปัญหา หรือข้อสงสัยโดยใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หากเนื้อหาหรือข้อสงสัยเป็นไปตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ใดจะเรียกว่าโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น ๆ
การทำโครงงาน
1. กำหนดปัญหา หัวข้อเรื่อง
2. ตั้งสมมุติฐาน หรือคำตอบชั่วคราว
3. ออกแบบการศึกษาค้นคว้า การทดลอง
4. ลงมือปฏิบัติ
5. สรุปผลโดยการจัดทำรายงานโครงงาน......อาจมีปัญหาใหม่เกิดขึ้น.......
6. นำเสนอผลงาน ประเมินผล
7. จัดนิทรรศการ ส่งประกวด
หัวข้อการเขียนรายงานโครงการ
1. โครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้..............เรื่อง..............
2. ผู้จัดทำ............อาจารย์ที่ปรึกษา..............โรงเรียน.........สังกัด.......ระดับชั้น....
3. บทคัดย่อ
4. กิตติกรรมประกาศ
5. บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญของโครงงาน........วัตถุประสงค์........สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า......ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า........ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง........... (ถ้ามี)....
6. บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงงานเรื่องนี้
7. บทที่ 3 อุปกรณ์ วิธีดำเนินการศึกษา
8. บทที่ 4 ผลการศึกษา และอภิปรายผล
9. บทที่ 5 สรุปผล ประโยชน์ ข้อเสนอแนะ
10. เอกสารอ้างอิง
11. หมายเหตุ : ตัวอย่างโครงงานเป็นของนักเรียน จึงมีรูปแบบหลากหลายตามความสามารถของนักเรียนแต่ละระดับชั้น
ตัวอย่างโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยสรุป เรื่องหัวบุกผง
|
บทที่ 1
บทนำ
แนวคิด ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
จากการที่คณะผู้จัดทำได้เห็นผู้ปกครองและชาวบ้านนำเอกหัวบุก ต้นบุกมาประกอบอาหารไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวและอาหารหวาน แต่หัวบุกก็ยังมีเหลืออยู่อีกมาก และไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงมีความคิดและได้ปรึกษากันว่า ถ้าหากเรานำเอาหัวบุกที่มีอยู่มาดัดแปลง หรือแปรรูปเป็น “หัวบุกผง” ด้วยกรรมวิธีง่ายๆ เพราะสามารถเก็บไว้ได้นานอีกทั้งยังคงคุณค่าของอาหารด้านโภชนาการ เพื่อเป็นการสะดวกที่จะนำไปใช้ได้หลายอย่าง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อแปรรูปหรือดัดแปลงหัวบุกที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. เพื่อสามารถเป็นการประหยัดรายจ่ายและเป็นอาชีพเสริมของตนเองและครอบครัวได้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้หัวบุกผงนำไปดัดแปลงเป็นอาหารและของขบเคี่ยวต่างๆ
2. เป็นการประหยัดรายจ่ายและเป็นการประหยัดเวลา
3. เป็นแนวทางในการทำกิจกรรมเสริมตามโครงการเสริมรายได้ระหว่างเรียน
4. ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
5. รู้จักการนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์และรู้จักการแปรรูปอาหาร
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น หัวบุก
2. ตัวแปรตาม หัวบุกผง
3. ตัวแปรควบคุม ความแก่ของหัวบุก อุณหภูมิ เวลา
สมมติฐานในการศึกษา
นำหัวบุกที่อบสุกแล้วไปตากให้แห้ง แล้วนำไปปั่นให้ละเอียดเป็นผง สามารถนำไปเป็นส่วนผสมของอาหารหวานและของขบเคี้ยวหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพได้
คำนิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ
การอบ หมายถึง การทำให้สุกและสามารถนำไปรับประทานได้
อุณหภูมิ หมายถึง การทำให้ละเอียดเป็นผงโดยใช้เครื่องปั่น
บทที่ 2
ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการจัดทำโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี คณะผู้จัดทำได้ศึกษาคุณสมบัติของหัวบุกประกอบการคิดค้นทดลองดังต่อไปนี้
ลักษณะของบุก
บุกเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง มีลำต้นแตกต่างกันออกไป บางต้นสูงใหญ่ บางต้นเล็ก ลำต้นจะเป็นสีขาวนวลและมีสีเขียวสลับกัน จะมีมากในฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคมจากนั้นลำต้นจะค่อยๆ เหี่ยวและแห้งแต่ใต้ดินจะมีหัวบุกอยู่ ซึ่งหัวบุกนี้จะมีอายุแก่เต็มที่ประมาณเดือนธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์ ต้นบุกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกันและแต่ละชนิดจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. บุกหนามหรือบุกป่า ลักษณะของบุกชนิดนี้ลำต้นจะมีหนามเล็กๆ ทั่วลำต้นและมียางซึ่งยางของบุกเมื่อถูกหรือจับจะมีอาการคัน บุกชนิดนี้ส่วนมากจะนำมาเป็นอาหารของสัตว์คือ หมูและดอกของบุกชนิดนี้นำมาประกอบหรือเป็นส่วนผสมของน้ำพริกมะกอกได้
2. บุกเกลี้ยง ลักษณะของบุกชนิดนี้ลำต้นจะเหมือนกันกับบุกหนามแต่จะผิดกันตรงลำต้นไม่มีหนาม แต่จะมียางลักษณะเดียวกันกับบุกหนาม เมื่อถูกหรือจับยางจะมีอาการคัน บุกชนิดนี้สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ทั้งคนและสัตว์ หรือที่นำมาแปรรูปสกัดเป็นบุกคอนยัคกี้
3. บุกเบือ ลักษณะของบุกชนิดนี้ลำต้นจะมีลักษณะเด่นคือ ไม่มีหนามและจะมีสีเขียวกับสีขาวนวลที่เจือจางกว่าบุกทั้งสองชนิดที่กล่าวมา บุกชนิดนี้จะนิยมปลูกกันตามบ้านเพราะจะใช้เป็นอาหารได้ตั้งแต่ต้นอ่อนจนถึงต้นที่แก่ สามารถนำมาแกงส้มหรือแกงเหลือง และหัวบุกยังสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารหวาน อาหารคาว และของขบเคี้ยวได้อีกด้วย
บุกทั้งสามชนิดที่กล่าวมานี้ ส่วนมากจะมีแถบภาคเหนือแต่ก็ไม่มีทุกจังหวัด จะมีมากเป็นบางจังหวัด และบุกทั้งสามชนิดจะมีลักษณะของลำต้น ใบ หัว ที่คล้ายกันมากที่สุด หากไม่สังเกตจะแยกไม่ออกว่าบุกชนิดใดที่เป็นบุกป่า บุกชนิดใดที่เป็นบุกเกลี้ยง และบุกเบือ
การถนอมอาหาร
การถนอมอาหาร หมายถึง การทำให้อาหารอยู่ได้นานวัน รวมถึงการดัดแปลงหรือการแปรรูปอาหารด้วยกรรมวิธีต่างๆ โดยอาหารนั้นจะไม่สูญเสียคุณค่าและอยู่ได้นาน
หลักเกณฑ์การถนอมอาหาร
1. ความสะอาดและการทำลายยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
2. เลือกวิธีการถนอมอาหารให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร
วิธีการถนอมอาหารมีหลายวิธี
1. การทำให้แห้ง โดยการตากแดด
2. การเชื่อม
3. การรมควัน
4. การกวน
5. การอบแห้ง
6. การแช่อิ่ม และการบรรจุขวด
ประโยชน์ของการถนอมอาหาร
1. ช่วยเก็บอาหารไว้ได้นานและมีอาหารไว้รับประทานนอกฤดูกาล
2. ทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่ขึ้น
3. ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว
บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการดำเนินการ
วัสดุอุปกรณ์
1. หัวบุกค่อนข้างแก่จัด
2. เครื่องปั่น
3. กระป๋องหรือขาดโหลมีฝาปิด
4. มีดปอก
5. ตะแกรงหรือเครื่องร่อนแป้ง
6. ทัพพีหรือช้อน
7. เขียง
8. เตาอบ
9. คีม
10. มีดหั่น
11. ถาดหรือกะละมัง
วิธีการดำเนินการ
1. เลือกหัวบุกที่มีลักษณะค่อนข้างแก่จัดและหัวที่มีขนาดใหญ่พอสมควร
2. นำหัวบุกล้างน้ำเพื่อให้ดินที่ติดออกให้หมด
3. นำหัวบุกปอกเปลือก แล้วนำมาหั่น หรือฝานให้มีขนาดความหนาเท่าๆ กันเมื่อนำหัวบุกที่ผ่านไปอบจะทำให้หัวบุกสุกและมีสีเสมอกัน
4. นำหัวบุกที่อบสุกแล้วไปอบในเตาอบที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส และใช้เวลาในการอบประมาณ 10 นาที
5. นำหัวบุกที่อบสุกแล้วไปตากแดดหรือปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นเพื่อให้หัวบุกกรอบ เมื่อนำไปปั่นจะทำให้สะดวกและปั่นละเอียดเป็นผงง่ายขึ้น
บทที่ 4
ผลการศึกษาค้นคว้า
จากการทำโครงงานนี้ เมื่อนำหัวบุกมาแปรรูปเป็นหัวบุกผง คณะผู้จัดทำต้องนำหัวบุกมาปอกเปลือก แล้วนำมาหั่นหรือผ่านเป็นชิ้นที่มีความหนาเท่าๆ กัน หลังจากนั้นนำหัวบุกไปอบในเตาที่มีอุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาในการอบ 10 นาที เมื่ออบสุกแล้วนำหัวบุกไปตากแดดอีกครั้งหนึ่ง
ตาราง แสดงผลการอบหัวบุก
รายการ
|
อุณหภูมิ(C •)
|
เวลา (นาที)
|
ผลของการอบ
|
หัวบุก
|
100
150
|
10
10
|
หัวบุกจะมีสีขาวนวลหรือสีครีม เมื่อนำหัวบุกไปปั่น หัวบุกจะมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ ไม่ละเอียดเท่าที่ควร
หัวบุกจะมีสีน้ำตาลอ่อนๆ หรือสีออกเหลืองอ่อนๆ เมื่อนำหัวบุกไปปั่น หัวบุกจะมีลักษณะเป็นผงละเอียดและมีสีน่ารับประทาน
|
จากตารางพบว่า ในการอบหัวบุกเราต้องใช้อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลา 10 นาทีจะได้หัวบุกที่มีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเหลืองอ่อน เมื่อนำไปปั่นแล้วจะเป็นผงละเอียดและมีสีสวยงาม
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
สรุปผล
การนำหัวบุกดิบมาแปรรูปเป็นผง โดยการใช้เตาอบสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างเช่น
1. สามารถเก็บหัวบุกไว้ได้เป็นระยะเวลานาน
2. เป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง เพราะในช่วงฤดูฝนหัวบุกมีมากทำให้สูญเปล่าประโยชน์ และอีกประการหนึ่งไม่มีราคาและไม่มีตลาดรับรอง
อภิปรายผล
จากผลการค้นคว้าและทดลอง จะเห็นได้ว่าหัวบุกสามารถนำมาแปรรูปเป็นหัวบุกผง ซึ่งมีรสชาติหอมอร่อยเหมาะที่จะนำไปเป็นส่วนผสมของขนมหวาน เช่น ขนมเปียกปูนขนมสอดไส้ ขนมเทียนไส้เค็ม ตะโก้ เม็ดขนุน หรือขนมบัวลอย และอาจนำไปเป็นส่วนผสมกับเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
ประโยชน์ของโครงงาน
1. สามารถแปรรูปอาหาร และได้สูตรใหม่ซึ่งมีรสชาติอร่อย
2. สามารถเก็บไว้ได้นาน และยังคงคุณค่าของอาหารอยู่
3. สามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของขนมชนิดต่างๆ ได้
ข้อเสนอแนะ
1. หัวบุกที่อบแห้งไหม้เกรียมไม่ควรนำมาทำเป็นหัวบุกผง เพราะอาจจะทำให้มีรสขม
2. ในการอบหัวบุกควรปรับอุณหภูมิของเตาอบ หรืออาจจะลดเวลาที่ใช้ในการอบ (กรณีการหั่นบุกอาจจะบางเกินไป
3. กรณีไม่มีเตาอบอาจจะใช้แสงแดดจากธรรมชาติในการทำให้แห้ง
4. การทำโครงงานครั้งต่อไปอาจจะแปรรูปผักชนิดอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน
ที่มา : โครงงานเรื่องหัวบุกผง
จากโรงเรียนบ้านแม่กื้ดหลวงกัญไชยมิตรภาพที่ 182 จังหวัดตาก
ชนะการประกวดโครงงานครั้งที่ 2 ปีการศึกษา 2544
ข้อแนะนำสำหรับรับนักเรียนในการเลือกเรื่องที่จะทำโครงงาน
การเรียนรู้โดยกิจกรรมการทำโครงงาน เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงความสามารถและพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยเป็นไปตามธรรมชาติ ตามความถนัดและความสนใจ เน้นในเรื่องคุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้อย่างมีขั้นตอน ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง สังคม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย ความรู้ และวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษา การประกอบอาชีพเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข การฝึกทำโครงงาน เพื่อการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทั้งเป็นการประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายของชุมชน นักเรียนจะได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคมอย่างสมบูรณ์ สามารถประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการร่วมกิจกรรมตามความเหมาะสมกับวัย และระดับความสามารถของนักเรียน
ฉะนั้น เมื่อนักเรียนได้ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนจากครูอาจารย์ผู้สอนแล้วนักเรียนจะต้องเป็นผู้คิดกำหนดหัวข้อโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้าดำเนินการวางแผนออกแบบสำรวจทดลอง ประดิษฐ์ เก็บรวบรวมข้อมูล แปรผล สรุปผลและเสนอผลงานโดยตัวนักเรียนเอง ครูอาจารย์จะเป็นเพียงผู้ดูแลและให้คำปรึกษาเท่านั้นโครงการแรกที่นักเรียนได้ทำและประสบผลสำเร็จจะสร้างความมั่นใจ และเป็นแรงผลักดันให้นักเรียนทำโครงงานต่างๆ ไปได้ นักเรียนจึงควรเลือกโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนเอง ทั้งนี้เพราะการเริ่มต้นด้วยความสำเร็จย่อมเป็นการเริ่มต้นที่ดีเสมอ จึงขอแนะนำให้นักเรียนทำโครงงานประเภทสำรวจก่อน โครงงานประเภททดลองและประเภทสิ่งประดิษฐ์
บรรณานุกรม
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ . การงานอาชีพและเทคโนโลยี ป.1 .สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด ,กรุงเทพ, 2550.
โครงงาน
เรื่องหัวบุกผง
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
คุณครูที่ปรึกษา นายจารุณี ขันใจ
จัดทำโดย
1. …………………………….. เลขที่...................
2. …………………………….. เลขที่...................
3. …………………………….. เลขที่...................
4. …………………………….. เลขที่...................
5. …………………………….. เลขที่...................
6. …………………………….. เลขที่...................
7. …………………………….. เลขที่...................
8. …………………………….. เลขที่...................
ชั้น.....................................................................
โรงเรียนบ้านดอกคำใต้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยาขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น